สาระสำคัญ
สารนิเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเรียนการสอน แหล่งที่เป็นศูนย์รวมสารนิเทศ คือแหล่งสารนิเทศ/แห่ลงความรู้ประเภทต่างๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ และความสำคัญหลายประการ
ความหมายของห้องสมุด
ห้องสมุด ( Library ) หมายถึงแหล่งรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ทั้งที่อยู่ในรูปของสิ่งตีพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ (สารนิเทศ) เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ใช้ มีการบริการและจัดอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่ผู้ใช้ในการค้นหาวัสดุสารนิเทศดังกล่าว บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดหา จัดซื้อ จัดหมู่ทำบัตรรายการซ่อมหนังสือ ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
1. เพื่อการศึกษา
2. เพื่อการค้นคว้าวิจัย
3. เพื่อการจรรโลงใจ
4. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
5. เพื่อบริการด้านข่าวสาร
1. เพื่อการศึกษา จากการที่ปัจจุบันการศึกษาจะเน้นให้ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ห้องสมุดจึงถือเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ศึกษาความรู้ได้ด้วยตนเองตามความรู้ความสามารถ และความต้องการของแต่ละบุคคล ดังนั้นห้องสมุดจึงต้องจัดหาหนังสือ สิ่งพิมพ์ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุมาไว้บริการในห้องสมุด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวเช่นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย วิทยาลัย
2. เพื่อการค้นคว้าวิจัย ปัจจุบันประเทศไทยเรามีการพัฒนามาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา
การแพทย์ ธุรกิจ สิ่งแวดล้อม มีการทำวิจัยในหลายด้าน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และเพื่อพัฒนาประเทศ การค้นคว้าวิจัยดังกล่าว ห้องสมุดมีบทบาทมากในการเป็นแหล่งความรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงในการวิจัย ผู้ที่จะทำการวิจัยเรื่องใหม่ๆ ย่อมต้องการค้นคว้าเรื่องที่มีอยู่เดิมเพื่อความรู้ และเพื่อให้ทราบว่างานวิจัยเรื่องนั้นๆ มีใครทำแล้วหรือไม่ จะได้ไม่ทำซ้ำ
3. เพื่อการจรรโลงใจ ห้องสมุดได้รวบรวมสารนิเทศไว้หลายประเภทแต่จะมีบางประเภทที่ให้ความจรรโลงใจ หรือความสุขทางใจแก่ผู้อ่าน/ผู้ใช้ เช่น ประเภทวรรณคดี (ทำให้ซาบซึ้งในสำนวนภาษา บทกวี ข้อคิดของนักปราชญ์) ประเภทศาสนา ชีวประวัติ (ทำให้เกิดแนวคิดที่ดี ให้คติชีวิต ชื่นชมในความคิดที่ดีงามของผู้อื่น เกิดแรงจูงใจปรารถนาที่จะกระทำสิ่งนั้น)
4. เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ห้องสมุดบางแห่งนอกจากจะมีหนังสือ วารสาน นิตยสาร โสตทัศนวัสดุในด้านวิชาการแล้ว ยังมีประเภทที่ให้ความบันเทิง บางแห่งมีการเล่านิทาน จัดนิทรรศการ ประกวดคำขวัญ กิจกรรมดังกล่าวทำให้เกิดความเพลิดเพลิน
5. เพื่อบริการด้านข่าวสาร ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ ข่าวสารเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวต่างๆของโลก ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาน จะทำให้ผู้อ่านสามารถนำข่าวสารความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงความรู้ ความสามารถของตนเองที่มีอยู่เดิมทำให้เป็นคนทันต่อเหตุการณ์ ความเปลี่ยนแปลงของโลก
ประเภทของห้องสมุด
1. หอสมุดแห่งชาติ
2. ห้องสมุดโรงเรียน
3. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดวิทยาลัย
4. ห้องสมุดประชาชน
5. ห้องสมุดเฉพาะ
1. หอสมุดแห่งชาติ คือ ห้องสมุดที่รัฐบาลของประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์ เอกสาร วัสดุอื่นๆที่ผลิตขึ้นทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ให้ผู้ใช้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ ได้ศึกษาค้นคว้า ซึ่งวัสดุที่ผลิตขึ้นนี้ มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องส่งมอบให้กับหอสมุดแห่งชาติส่วนหนึ่ง
2. ห้องสมุดโรงเรียน คือ ห้องสมุดที่โรงเรียนแต่ละระดับ (อนุบาล ประถม มัธยมศึกษา) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าประกอบการเรียนการสอนของครู และนักเรียน และเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดวิทยาลัย คือ ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย แก่นักศึกษา และครูอาจารย์ในสถานศึกษานั้นๆ
4. ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่รัฐบาล จังหวัด เทศบาลจังหวัดนั้นๆ จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชนในท้องถิ่นของตน เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริมความรู้ ความสนใจ ปรับปรุงความรู้ในงานอาชีพของตน ให้ประชาชนรู่จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและ ความเพลิดเพลิน เป็นศูนย์รวมข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆของประเทศ และของโลกให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้นได้ทราบความเคลื่อนไหว มีความรู้ทันต่อเหตุการณ์
5. ห้องสมุดเฉพาะ คือ ห้องสมุดหน่วยราชการ องค์การ สถาบัน สมาคม บริษัท โรงงานต่างๆ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุทางวิชาการ และเฉพาะวิชาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น ให้สมาชิกของหน่วยงานได้ศึกษาความรู้ เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยในสาขาที่ตนปฏิบัติงานอยู่
ความสำคัญของห้องสมุด
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ต่างๆในโลกเอาไว้
เมื่อมนุษย์มีการค้นพบความรู้ต่างๆขึ้นมาใหม่ ก็จะมีการบันทึกเก็บรวบรวมไว้ในรูปแบบต่างๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ แต่ปัจจุบันจะบันทึกในคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดจึงต้องมีหน้าที่เก็บรวบรวมสารนิเทศไว้บริการ
2. ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างเสรี ตามความงามสนใจ
การเรียนชั้นเรียนแต่ละคนจะมีความสนใจหรือความชอบที่ต่างกันไปไม่เหมือนกัน บางครั้งครูผู้สอน สอนจำกัดในหลักสูตร แต่ผู้เรียนมีความสนใจ ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม ก็สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากห้องสมุด
3. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า
เมื่อเข้าห้องสมุดไปอ่านศึกษาค้นคว้าหนังสือหรือสารนิเทศอื่นๆ เพื่อความบันเทิงหรือคลายเครีด ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะสามารถปลูกฝังให้เกิดนิสัยรักการอ่าน และการค้นคว้าได้
4. ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
มนุษย์เราเมื่อมีเวลาว่างมักจะหากิจกรรมที่ไม่ใช่งานประจำทำ บางคนเลือกอ่านหนังสือดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ดูภาพยนตร์ ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ซึ่งการอ่านหนังสือก็สามารถนำความรู้ ความคิดใหม่ๆ ที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรืองานประจำได้ละการจะมีหนังสืออ่านนั้นนอกจากจะซื้อเป็นสมบัติส่วนตัวหรือยืมจากเพื่อนคนใกล้ชิดแล้วห้องสมุดก็เป็นแหล่งหนึ่งที่จะสนองความต้องการดังกล่าว
5. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
โดยทั่วไปห้องสมุดมีหน้าที่จัดหาทรัพยากรสารนิเทศใหม่ๆ มาบริการผู้ใช้อยู่เสมอ สารนิเทศบางประเภทจะมีการเสมอข่าวสารข้อมูลใหม่ๆ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ วารสาน ซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และทันสมัยกว่าหนังสือ
ความหมายของสารนิเทศ
สารนิเทศ (Information) บางครั้งใช้ สารสนเทศ ข้อสนเทศ แต่มาจากคำเดียวกัน คือ Information มีผู้ให้นิยามไว้หลากหลาย เช่น
จาก ALA Giossary Library and Information Science ได้ให้นิยามว่า
สารนิเทศ หมายถึง ความคิด ข้อเท็จจริง จินตนาการ ซึ่งได้มีการสื่อสาร บันทึก พิมพ์และเผยแพร่ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการในทุกรูปแบบ
นงลักษณ์ ไม่หน่วยกิจ (2526:26) ให้ความหมายสารนิเทศว่า ข่าวข้อเท็จจริง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ การศึกษาหรือการสอนซึ่งได้มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปวัสดุตีพิมพ์ และไม่ตีพิมพ์ เช่น หนังสือ สารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร ต้นฉบับตัวเขียวภาพยนตร์ แผ่นเสียง ภาพเลื่อน เทปโทรทัศน์ ไมโครฟิล์ม เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก เป็นต้น
จึงสรุปได้ว่าสารนิเทศ หมายถึง ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ที่ได้มีการบันทึกรวบรวมไว้ไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับสารนิเทศได้ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตามความต้องการ
ประเภทของสารนิเทศในห้องสมุด แบ่งได้ 2 ประเภท คือ1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed Materials)
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-printes Materials)
1. วัสดุตีพิมพ์ หมายถึง สารนิเทศที่มีการบันทึกความรู้ที่มีเนื้อหาสาระเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า อ้างอิง หรือเพื่อความบันเทิงในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ อ่านได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ได้แก่
1.1 หนังสือ
1.2 วารสาร/นิตยสาร
1.3 หนังสือพิมพ์
1.4 จุลสาร และกฤตภาค
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง สารนิเทศที่บันทึกลงในวัสดุที่ไม่ใช่กระดาษ (พลาสติก โลหะ ฟิล์ม) ได้แก่
2.1 ภาพนิ่ง ได้แก่ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ฟิล์มสตริป สไลด์
2.1 ภาพเคลื่อนไหวได้แก่ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์
2.3 วัสดุย่อส่วน ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช
2.4 วัสดุเสียง ได้แก่ แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง
2.5 วัสดุสามมิติ ได้แก่ ลูกโลก หุ่นจำลอง
2.6 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ แผ่นซีดีรอม แผ่นดิสก์
คุณค่าของสารนิเทศ
วันเพ็ญ สาลีผลิน (ม.ป.ป. : 30) กล่าวว่า สารนิเทศ หรือสารสนเทศ จะมีคุณค่าต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเวลาใดมาก หรือน้อยเกิดจากปัจจัยดังนี้
1. เวลา (Timer) สารสนเทศที่ได้รับอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ย่อมมีคุณค่าในการใช้ประโยชน์ สารสนเทศบางอย่างจะลดคุณค่าลงเมื่อเวลาผ่านไป หรือสารสนเทศที่ช้าเกินไป ก็ไม่เป็นประโยชน์ เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์ ตัวเลขในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นต้น
2. ความถูกต้อง (Certainly) สารสรเทศที่ถูกต้องจะให้คุณค่าในแง่ความน่าเชื่อถือ สารสนเทศที่รวดเร็ว แต่ไม่ถูกต้องก็ไม่มีคุณค่าเช่นกัน
3. ความครบถ้วน (Completeness) สารสรเทศที่มีคุณค่า ต้องเป็นสารสนเทศที่มีความครบถ้วน ไม่หดหาย และไม่ถูกบิดเบือน สารสนเทศที่รวดเร็ว และถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน ก็มีคุณค่าลดลง หรือไม่มีคุณค่าเลย เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ และมั่นใจ
4. ความต่อเนื่อง (Accumulation) สารสนเทศที่มีคุณค่า จะต้องมีลักษณ์การสะสมของข้อมูลต่อเนื่อง สามารถประสานเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่กระจัดกระจาย สารสนเทศที่ถูกต้อง รวดเร็ว และครบถ้วน แต่ไม่มีความต่อเนื่อง ก็จะมีคุณค่าน้อยลงทันที
5. กะทัดรัด (Brief) สารสนเทศที่มีรายละเอียดของเนื้อหาชัดเจน ได้ใจความ ใช้ภาษาที่สั้น กะทัดรัด จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย
6. สะดวก (Easy to retrieve) สารสนเทศที่มีระบบการจัดการเก็บที่ดี ให้ความสะดวกรวดเร็วกับผู้ใช้ในการค้นหา จะมีคุณค่ามากขึ้น
แหล่งความรู้/แหล่งสารนิเทศ
ประภาวดี สืบสนธิ์ (2532: 27-29) ได้แบ่งสารนิเทศเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
1. แหล่งสารนิเทศภายในตัวบุคคล
2. แหล่งสารนิเทศภายนอก
1. แหล่งสารนิเทศภายในตัวบุคคล หมายถึง สารนิเทศซึ่งเกิดขึ้นโดยการประมวลความคิด ความรู้ ใช้ความจำ ใช้ประสบการณ์ตนเอง หรืออาจแสวงหาสารนิเทศโดยการสังเกต อาจเป็นการสังเกตอย่างมีระบบ มีเป้าหมายของการสังเกตอย่างเด่นชัด หรืออาจสังเกตโดยไม่มีระบบ ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนว่าจะสังเกตเรื่องใด แล้วแต่ว่าสังเกตเห็นอะไรแล้วจึงนำผลจากการสังเกตมาประมวลภายหลัง นอกจากนี้ยังหาได้จากแฟ้มข้อมูล เอกสารที่ได้รวบรวมเก็บสะสมไว้เพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัว
2. แหล่งสารนิเทศภายนอก หมายถึง แหล่งสารนิเทศที่ใช่ตัวผู้แสวงหาสารนิเทศซึ่งจำแนกเป็น
2.1 แหล่งสารนิเทศบุคคล บุคคลเป็นช่องทางการสื่อสาร และการแสวงหาข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ บุคคลที่เป็นแหล่งสารนิเทศได้แก่ เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน เพื่อนบ้าน สมาชิกในครอบครัว บุคคลที่เป็นผู้รู้ ที่ปรึกษา ตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ แหล่งบุคคลหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแหล่งสารนิเทศภายนอกที่เป็นที่นิยมใช้เพื่อหาสารนิเทศที่ต้องการมากเป็นอันดับแรก และเป็นอันดับสองรองจากการใช้ประสบการณ์ความคิดของตนเอง
2.2 แหล่งสารนิเทศสถาบัน หมายถึงสถาบันต่างๆ ที่ให้บริการสารนิเทศ ทั้งที่จัดตั้งขึ้นโดยจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินการ และให้บริการอย่างเป็นทางการ ได้แก่ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร ศูนย์สารนิเทศ และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานเฉพาะด้าน สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเดินงานที่เป็นที่ค้องการได้ เช่น สำนักงานส่งเสริมการเกษตร สำนักงานสาธารณสุข หน่วยสารนิเทศของรัฐบาล สำนักงานบ้านและที่ดิน ฯลฯ แหล่งสารนิเทศประเภทนี้รวมถึงตัวบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับสถาบัน เช่น ครู บรรณารักษ์ พัฒนาการ พระ ทนายความ
2.3 แหล่งสารนิเทศสื่อมวลชน เป็นแหล่งสารนิเทศที่บุคคลจะเข้าถึงได้โดยผ่านสื่อมวลชน เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร เป็นต้น
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)